หน้าแรก

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

[สาระ]ความต่างระหว่าง Fonts กับ Typefaces

          หลายคนมีความสับสนในใจไม่กล้าบอกใคร บางคนกลัวความอับอาย กลัวความผิด กลัวถูกเพื่อนล้อ กลัวโดนตี กลัวยุงกัด กลัวนู่นกลัวนี่กลัวโดนตุ๋ย อะไรตรงหน้ามันน่ากลัวไปหมด เอาล่ะ...โปรดจงสกัดความกลัวไว้ก่อนชั่วครู่ แล้วตามผมมาพบความแตกต่างระหว่างบางสิ่งกับบางสิ่ง ที่หลายคนไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง แม้กระทั่งตัวผมเอง (อ้าว...แล้วกูจะมาเล่าทำไมวะเนี่ย)

          เข้าเรื่องเลยละกัน Fonts คืออะไร..? ใครก็ได้บอกผมหน่อยที .....สรุปไม่มีใครบอกใช่มั้ย เดี๋ยวผมสาธยายเองละกัน Fonts ที่คุณเรียกกันติดปากมัน หมายถึง ชุดตัวอักษรทั้งหมด ที่มีสไตล์ มีขนาด รวมไปถึงตัวเลข และตัวอักขระพิเศษในฟอนท์ชุดนั้นๆ ส่วน Typefaces มันก็คือแบบอักษรอีกนั่นแหละ สรุปเหมือนกัน....อ้าวเฮ้ย...มันยังไงกันเนี่ย ชักงง



          Typefaces ก็คือ สิ่งที่บ่งบอกลักษณะของตัวอักษร แบบอักษร อาทิเช่น ตัวหนา ตัวเอียง ตัวปกติ หรืออาจจะรวมไปถึง ตัวบีบ ตัวขยายตัวดำ อะไรทำนอง นี้เป็นต้น หน่วยวัดของ Typefaces จะถูกเรียกเป็น Point และจะเลือกกันเป็นเซ็ทของขนาด เช่น 10 point, 12 point, 14 point, 24 point, 48 point ไปเรื่อยๆ แต่...ขนาดกว้างยาวของตัวอักษรแต่ละตัว ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีขนาดเท่ากันกับตัวอักษรอีกแบบ หนึ่งที่มีขนาด Point เท่ากัน เช่น ตัวอักษรในชุด Fonts A ที่มี Point เท่ากันกับ Fonts B ไม่จำเป็นต้องมีขนาดเท่ากันเสมอไป

          สรุป Fonts กับ Typefaces มันก็คล้ายกันอยู่ดี เฮ้อ.... เอาเป็นว่า Fonts มันมีความหมายครอบคลุมทั้งชุดของตัวอักษรนั้นๆ แต่ Typefaces มันเจาะเข้าไปถึงลักษณะเฉพาะ 

          การใช้ Fonts และ Typeface ที่แตกต่างกันในการออกแบบเว็บทำได้ยากกว่าการออกแบบสิ่งพิมพ์หลายเท่านัก ยกตัวอย่างเช่น คุณอยากจะใช้ฟอนท์ Copasetic ซึ่งคุณไปดาวโหลดมาจากที่ไหนสักแห่ง แต่เกิดอาการอยากจะพิมพ์ลงบนหน้าเว็บซะเหลือเกิน จะทำยังไงดี ก็พิมพ์ไปซะสิ ไม่เห็นยาก แต่....


          คนชมที่นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตาดำๆ เค้าไม่ได้ลงชุดฟอนท์คุณในเครื่องของเค้าครับ เพราะฉะนั้นต่อให้ Typefaces คุณสุดเท่ห์ปานใดเค้าก็จะไม่รับรู้ครับ ทีนี้จะแก้เกมส์อย่างไรล่ะ....วิธีการก็ต้องพิมพ์ตัวอักษรลงบนโปรแกรมออกแบบกราฟฟิคที่คุณนิยม อาทิเช่น Photoshop หรือ Illustrator ฯลฯ แล้ว export ออกมาในไฟล์ Gif หรือ Jpeg อะไรก็ว่าไป เท่านี้คนชมก็จะสามารถเห็นแบบอักษรของคุณแล้วล่ะครับ ส่วนพวกที่ออกแบบสิ่งพิมพ์ก็ไม่ต้องกังวล เพราะยังไงคนชมก็เห็นแบบอักษรของคุณตรงเป๊ะอยู่ดี 

ส่วนนักออกแบบเว็บ มีทางเลือกในการใช้แบบอักษรไม่กี่อย่าง โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. Serif หรือ ตัวอักษรที่มีตีน มีขา ที่นิมยมคือฟอนท์ Times และ Times New Roman
2. San Serif หรือ ตัวอักษรที่ไม่มีตีน อ่านง่าย พบเห็นได้ทั่วไป ที่นิยมคือ Arial, Helvetica, และ Verdana

จบแล้วครับ...ขอขอบคุณที่ตั้งใจอ่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น